จุดเริ่มต้นของนิทรรศการ กาล-กระทำ เกิดจากการหยิบยกวัตถุต่างๆ มาตีความผ่านรูปแบบแนวคิดของกลุ่มนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ทั้งภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน และ ศิลปอุตสาหกรรม จำนวน 12 กลุ่ม ซึ่งทำให้เกิดการออกแบบวัตถุที่ถูกถ่ายทอดภายใต้โจทย์เดียวกัน
สิ่งที่เราสนใจนำเสนอเป็นประเด็นหลักในนิทรรศการนี้คือ “Vernacular” หรือ ความเป็นพื้นถิ่น ซึ่งหมายถึงองค์ความรู้ที่เกิดจากการตกผลึกทางความคิดของคนในชนบทจากรุ่นสู่รุ่นที่เรียกว่า “ภูมิปัญญา” จากสภาพแวดล้อม ความเชื่อ หรือวัสดุในพื้นที่นั้นๆ เพื่อใช้สอยในการอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นสิ่งที่เป็นจุดเด่นที่เราต้องการจะนำเสนอ คือการประยุกต์นำภูมิปัญญาความเป็นพื้นถิ่นให้สามารถใช้ได้จริงในปัจจุบัน
กาล-กระทำ ในความหมายของนิทรรศการอาจหมายถึง การกระทำที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา จึงถูกนำมาเป็นแนวคิดในการถ่ายทอดเรื่องราวของสิ่งที่ถูกนำมาออกแบบใหม่ โดยแก่นแท้ของสิ่งเดิมอาจยังคงเดิมหรือถูกนำมาตีความด้วยการออกแบบที่เราต้องการจะถ่ายทอดออกมาเป็นวัตถุชิ้นใหม่
ความน่าสนใจในโครงการนี้คือ การที่วิถีของภูมิปัญญาปรับเปลี่ยนบริบทตามยุคสมัย แต่เราจะสามารถถ่ายทอดจิตวิญญาณของวัตถุนั้นไว้ได้อย่างไร เหล่านักศึกษาในโครงการจึงร่วมกันขบคิดถึงจิตวิญญาณของภูมิปัญญาต่างๆผ่านการตีความและเข้าใจการใช้งานวัตถุนั้นๆ
Kan-kratam is the exhibition created by 12 groups of architecture student (interior architecture and industrial design) from King Mongkut’s institute of technology Ladkrabang. Picking traditional objects and subjects then redefining them in our own millennial people’s point of view is the main idea. Thus, 12 innovations is designed within the same topic that we interested in, “vernacular”
Vernacular is a crystalized knowledge from ancestors pass on to us generationally or we can call it a folk wisdom. From surroundings, believes and local materials have built its strong uniqueness of each vernacular knowledge which is fun to explore. And bringing those knowledge then applying them to what we normally use daily is even more fun.
The meaning of the exhibition Kan-kratam is the action of people that changes by the passing of time. This conceptual content has been refining and reinterpreting into innovations whether in forms or functions or both.
The interesting point of this project is the way we adapt vernacular knowledge to be still workingable in the present time. Here we brainstorming to find possible ways to convey the essence of vernaculars.